วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสร้างblogger

การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com
1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ http://www.blogger.com/



2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW



3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue




4. ระบุรายละเอียดของบล็อก
Blog title : ระบุชื่อบล็อก
Blog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut.blogpot.com
World Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมา
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue


5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการ
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue



6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่



7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้ว
ให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน



8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post




9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อก
ให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล



10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้ว
สังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/



11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่
http://www.blogger.com/start    พิมพ์ชื่อ username / Password
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN IN เพื่อเข้าระบบ



12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูป
ทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ


สรุป ในการสร้างบล็อกนั้นสามารถทำได้สองแบบคือ
1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้งานเองสำหรับบริการพนักงานใน office เลย ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานบล็อกฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)*

การสมัครgmail

วิธีการสมัคร Gmail


  1. เข้า เว็บไซท์ www.gmail.com
  2. คลิก ปุ่ม “สร้างบัญชี”
Image
จะปรากฏหน้าต่างสร้าง บัญชี ตามรูปที่ 2 และ 3
Image
รูปที่ 2
3.      กรอกรายละเอียดตามรูป 3 – 6
Image
รูปที่ 3
Image
รูปที่ 4
Image
รูปที่ 5
Image
รูปที่ 6

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published.
You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <pre> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

         ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

     1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
     2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
     3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
                 o ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                 o ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                 o การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
      4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
                 o เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                 o เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
      5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้แล
เทคโนโลยี